สวัสดีปี๕๓

สวัสดีปี๕๓
ส.ค.ส.พระราชทาน ๒๕๕๓

สวัสดีปีใหม่

ส.ค.ส.พระราชทาน .ค.ส.พระราชทาน คืออะไร ส.ค.ส.พระราชทาน คือ บัตรส่งความสุขที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548) ที่มาของ ส.ค.ส.พระราชทาน และในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งส.ค.ส.พระราชทานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2529 ซึ่งเป็น ส.ค.ส.พระราชทานสำหรับปี 2530 โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส.9 ส.ค.ส.พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530 เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปีจะประมวลขึ้นจาก เหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ในปีพุทธศักราช 2553 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ็กเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้งสองสุนัข มุนบนด้านซ้าย มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส. 2553 (สอ คอ สอ สองพันห้าร้อยห้าสิบสาม) ส่วนมุมบนด้านขวามีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010 (แฮปปี้ นิว เยียร์ ทูเทาว์ซันด์เท็น) ด้านล่างของ ส.ค.ส.มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27 / 15:25 (สองพันเก้า สิบสอง ยี่สิบเจ็ด / สิบห้า ยี่สิบห้า) กรอบ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละสองแถว ด้านข้าง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว นับรวมกันได้ 418 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม บนกรอบ ส.ค.ส.ด้านล่างมีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52 (กอ สอ เก้า ปรุง สิบห้า ยี่สิบห้า ยี่สิบเจ็ด ทอ คอ ห้าสอง) พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D เพิ่มเติมเวลา 20.15 น. เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 31 ธันวาคม 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความว่า "ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติตัวปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ชาวไทยทุกคนได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ จะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญจะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลัก ในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน"

อนุบาลอุ่นจิต

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 2

งานชิ้นที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาข้อมูลจากสถานศึกษาของนักศึกษาแล้วดำเนินการจัดลงในบล็อกของนักศึกษาดังนี้

ชื่อหน่วยงานที่นักศึกษาศึกษา โรงเรียนอนุบาลอุ่นจิต
สถานที่ตั้งของหน่วยงาน 30/257 หมู่บ้านราชพฤกษ์ 2ซอย 4 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ใช้สื่อICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและสนับสนุนการบริหาร
วิสัยทัศน์ของหน่วยงานท่าน/สถานศึกษาของท่านวิสัยทัศน์ (VISION)
โรงเรียนอนุบาลอุ่นจิต มุ่งเน้นการเรียนการสอน ที่เสริมสร้างศักยภาพของความเป็นมนุษย์ให้กับเด็ก ปลูกฝังให้เด็กรู้จักรักตัวเองและรักทุกสิ่ง เพื่อการพัฒนาและมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งสามารถรักษาและนำสิ่งต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ คุณค่าได้อย่างเหมาะสม

พันธกิจ (MISSION)
โรงเรียนอนุบาลอุ่นจิต มีพันธกิจในการจัดการศึกษา ๓ พันธกิจ ดังนี้
พันธกิจที่ ๑ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี เก่ง สุข
พันธกิจที่ ๒ การพัฒนาครูและผู้บริหารให้จัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พันธกิจที่ ๓ การพัฒนาโรงเรียนให้มีระบบเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน การประเมินภายนอกในระดับดี

ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน/สถานศึกษาของท่าน..................................
บริบทของของหน่วยงาน/สถานศึกษาของท่าน...................................
โครงสร้างของหน่วย/สถานศึกษาของท่าน ประกอบด้วย 4 ฝ่าย
1.ฝ่ายบริหารงบประมาณ2.ฝ่ายบริหารบุคคล 3ฝ่ายบริหารวิชาการ 4.ฝ่ายบริหารทั่วไป
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาของหน่วยงาน/สถานศึกษาของท่าน บุคลากรทำการสอนไม่ตรงวิชาเอก
ให้นักศึกษาเขียนสรุปให้สั้นกระทัดรัดด้วยความคิดของตนเอง อ้างอิงเอกสารด้วย SAR โรงเรียนอนุบาลอุ่นจิต ปีการศึกษา 2551

ใบงานที่ 1

1. ความหมายและความสำคัญของการจัดการ
การจัดการ (Management) หมายถึง การร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันของกลุ่มบุคคล ในการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกันโดยมีลักษณะที่สำคัญ คือ
• มีเป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ (Obiectives) ที่ตั้งไว้ร่วมกันอย่างชัดเจน
• มีทรัพยากรในการบริหาร (Resource) ซึ่งมีจำกัด
• มีการแบ่งงานกันทำ (Division) ตามความรู้ความสามารถ
การจัดการ (Management) มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า การบริหาร แต่ลักษณะการสื่อ
ความหมายของคำนี้มีความแตกต่างกัน คือ
o การจัดการ มีความหมายเป็นการปฏิบัติงานหรือดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย นิยมใช้สำหรับการบริหารงานขององค์กรทางธุรกิจเอกชน
o การบริหาร สื่อความหมายว่าเป็นการบริหารระดับสูงที่เป็นระดับการกำหนดนโยบาย หรือวางแผน และมักนิยมใช้สำหรับการบริหารงานของราชการ
2.ความหมายนวัตกรรม
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำHughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่
นวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1 สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2 สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3 สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
3. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
Good (1973 : 592) หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิค การสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษา ด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517 : 120 - 121)
เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
ในความหมายอย่างกว้าง ๆ แล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใด ๆ ก็ตามที่ใช้ในการให้ การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือหรือกระบวนการ จึงสรุปได้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นคำที่ใช้หมายถึงการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมในแต่ละยุค
4. ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล (data) ก็คือเหตุการณ์ที่ปรากฎขึ้นจากการทำงานหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ดังลักษณะของทรัพยากรข้อมูล ดังนี้
1. แบบฟอร์มต่าง ๆ
2. สมุดบัญชี สมุดบันทึกต่าง ๆ รวมถึงบัตรลงบันทึกการทำงาน
3. แฟ้มจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ
4. รายงานข้อสนเทศ รายงานงบดุล/บัญชีการเงินทั้งองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการต่าง ๆ ในองค์กร

5. สารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
6. ระบบสารสนเทศ (Information System )
หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นการนำข้อมูลทางการศึกษาผ่านระบบสื่อสาร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การรับข่าวสารข้อมูลทันสมัยได้รวดเร็วเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
8.การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไป (ผู้ส่งสาร)ไปยังบุคคลอื่น(ผู้รับสาร)โดยผ่านสื่อต่างๆ
9. เครือข่าย (Network) เป็นรูปแบบทางสังคมที่เปิดโอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์การเพื่อการแลกเปลี่ยน การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการร่วมกันทำงานโดยมีฐานะเท่าเทียมกัน
10.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ขอมูล และการสื่อสาร นับตั้งแตการสราง การนํามาวิเคราะหหรือประมวลผลการรับและสงขอมูล การจัดเก็บ และการนําไปใชงานใหม เทคโนโลยีเหลานี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร ซึ่งประกอบดวยสวนอุปกรณ (hardware) สวนคําสั่ง (software) และสวนขอมูล (data) และระบบการสื่อสารตางๆ ไมวาจะเปนโทรศัพท์ ระบบสื่อสารขอมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไรสาย”
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำ เอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำ หรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำ หรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต