สวัสดีปี๕๓

สวัสดีปี๕๓
ส.ค.ส.พระราชทาน ๒๕๕๓

สวัสดีปีใหม่

ส.ค.ส.พระราชทาน .ค.ส.พระราชทาน คืออะไร ส.ค.ส.พระราชทาน คือ บัตรส่งความสุขที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548) ที่มาของ ส.ค.ส.พระราชทาน และในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งส.ค.ส.พระราชทานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2529 ซึ่งเป็น ส.ค.ส.พระราชทานสำหรับปี 2530 โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส.9 ส.ค.ส.พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530 เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปีจะประมวลขึ้นจาก เหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ในปีพุทธศักราช 2553 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ็กเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้งสองสุนัข มุนบนด้านซ้าย มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส. 2553 (สอ คอ สอ สองพันห้าร้อยห้าสิบสาม) ส่วนมุมบนด้านขวามีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010 (แฮปปี้ นิว เยียร์ ทูเทาว์ซันด์เท็น) ด้านล่างของ ส.ค.ส.มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27 / 15:25 (สองพันเก้า สิบสอง ยี่สิบเจ็ด / สิบห้า ยี่สิบห้า) กรอบ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละสองแถว ด้านข้าง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว นับรวมกันได้ 418 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม บนกรอบ ส.ค.ส.ด้านล่างมีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52 (กอ สอ เก้า ปรุง สิบห้า ยี่สิบห้า ยี่สิบเจ็ด ทอ คอ ห้าสอง) พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D เพิ่มเติมเวลา 20.15 น. เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 31 ธันวาคม 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความว่า "ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติตัวปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ชาวไทยทุกคนได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ จะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญจะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลัก ในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน"

อนุบาลอุ่นจิต

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12

ให้ผู้เรียนสรุปการนำเสนอโปรแกรม SPSS OF WINDOWS ในวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2552
ตามที่นักศึกษาได้เรียนรู้ และเสนอแนะต้องการเรียนอะไรเพิ่มเติมให้เขียนบอกลงในWebboard
ของผู้เรียนด้วย
ใบงานที่ 12 การใช้โปรแกรม spss
ส่วนประกอบหลักของ
SPSS FOR WINDOWS
-Title Bar บอกชื่อไฟล์
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน
--Variable View
สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
--Data View
เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
เปิด SPSS Data Editor
File -> New -> Data
กำหนดชื่อและรายละเอียด
จากหน้าจอ Variable View
ป้อนข้อมูล Data View
บันทึกข้อมูล
File -> Save
การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง
เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร
เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์
ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3
ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
7.1 Scale (Interval, Ratio)
7.2 Ordinal
7.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies
กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum
เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue
เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts
ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statisticsจากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น: